วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

อันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้า


อุปกรณ์ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเป็นส่วนประกอบที่ใช้เกี่ยวเนื่องกับไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในโรงพยาบาล ได้แก่ เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ เครื่องตรวจคลื่นสมอง เครื่องดูดของเสียออกจากร่างกาย เครื่องปั่นให้สารตกตะกอน (Centrifuge) ตู้เย็น หม้อต้มน้ำร้อนขนาดใหญ่ เป็นต้น


แหล่งที่พบ

อันตรายจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า จะพบได้ทุกพื้นที่ของโรงพยาบาลที่มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หน่วยที่ดูแลคนไข้ทั่วไป หน่วยดูแลคนไข้พิเศษ ห้องฉุกเฉิน หน่วยบำรุงรักษา หน่วยบริการ ส่วนเตรียมอาหาร และหน่วยวิจัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ส่วนเตรียมอาหาร และบริเวณที่ทำงานซึ่งเปียกชื้น ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรื่อง การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้ และการดูแลผู้ที่ปฏิบัติงาน ณ ที่นั้น


ผลต่อสุขภาพ

อัตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า คือ การถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าลัดวงจร การเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือสูญเสียชีวิตได้ โดยมีสาเหตถมาจาก


การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด หรือมีกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยที่ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าฃำรุดเสียหาย หรือเสื่อมคุณภาพ

การทำงานในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้อ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเป็นสื่อนำไฟฟ้าได้ดี

การต่อสายไฟไม่ดี ไม่มีการตัดวงจรไฟฟ้า

การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าผิดลักษณะ การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง เช่น การใช้เต้าเสียบผิดประเภท

ผู้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขาดความรู้ เรื่อง ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า ขาดความระมัดระวังในการใช้



ข้อควรระวัง

ช่างไฟฟ้า และบุคลากรที่รับผิดชอบงาน ด้านการบำรุงรักษาไฟฟ้า และบุคคลทั่วไป ควรทราบข้อควรระวัง เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า คือ

อุปกรณ์ไฟฟ้า ควรต่อเปลือกหุ้มที่เป็นโลหะ ของเครื่องมือนั้นลงดิน

อุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อถูกนำมาใช้งานในสภาพที่ไม่ปกติ เช่น ที่เปียกชื้น ที่มีความต่างศักย์เกิน 150 โวลท์ บริเวณที่มีอันตรายก็ควรต่อลงดินเช่นเดียวกัน

ควรตรวจสอบสายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อต่อ ขั่วที่ติดอุปกรณ์ หากพบว่าชำรุด ให้รีบดำเนินการแก้ไข
อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดเคลื่อนที่ได้ ควรได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลา

ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขณะมือเปียกน้ำ

ส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ควรมีป้ายแขวนเตือน

การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด เช่น มอเตอร์ หม้อแปลง ควรมีผู้รับผิดชอบในการควบคุมการใช้

ไม่ปลดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าออก ยกเว้นกรณีที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น

ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานผิดปกติ ควรสับสวิตช์ให้วงจรำฟฟ้าเปิด แล้วแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบ

ทุกครั้งหลังใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ควรสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด

ไม่นำสารไวไฟ หรือสารที่ติดไฟง่าย เข้าใกล้บริเวณสวิตช์ไฟฟ้า

เมื่อเกิดไฟฟ้าดับ หรือมีผู้ได้รับอุบัติเหตุจากไฟฟ้า ต้องรีบสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด

เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดไฟไหม้ ต้องรีบสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด แล้วทำการดับไฟด้วยเครื่องดับเพลิง ชนิดสารเคมี ไม่ควร
ใช้น้ำ หรือเครื่องดับเพลิงที่เป็นชนิดน้ำ ทำการดับไฟ

ไม่ควรเดินเหยียบสายไฟฟ้า


การป้องกัน และควบคุม

การออกแบบ และการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และต่อผู้ปฏิบัติงาน เช่น บริเวณที่เตรียมอาหาร จะมีพื้นที่บางส่วนเปียกชื้นตลอดเวลา การติดตั้ง และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ปลอดภัย จึงเป็นสิ่งจำเป็น ได้แก่
ติดตั้งเครื่องตัดวงจรอัตโนมัติ เมื่อมีไฟฟ้ารั่วลงดิน อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ประสิทธิผลมาก คือ Ground Fault Circuit Interupter หรือเรียกว่า GFI หลักการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้านี้ คือ จะขัดขวางวงจรกระแสไฟฟ้า ก่อนที่กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านมาที่คน อุปกรณ์นี้ราคาไม่แพง และควรติดตั้งโดยผู้มีความรู้

ใช้กล้องใส่อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ทำด้วยวัสดุไม่นำไฟฟ้า

ปลั๊กเสียบ และเต้าเสียบ ควรออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานในที่เปียกชื้น

แผงไฟฟ้า ควรมีป้ายบอกชัดเจน ถึงทางออกของเครื่องตัดวงจรไฟฟ้า เช่น breaker หรือ fuse และ breaker switch ไม่ควรนำมาใช้เป็นสวิตช์ เปิด-ปิดไฟ

กล่อง cut out ที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ชื้น หรือเปียก ควรมีคุณสมบัติป้องกันความชื้นเข้าไปภายในกล่อง กล่องควรตั้งอย่างน้อย ให้มีช่องว่างห่างจากผนัง 0.25 นิ้ว และกล่องจะต้องทำด้วยวัสดุไม่นำไฟฟ้า

การอบรมให้ความรู้ กับผู้ที่ปฏิบัติงาน หรือรับผิดชอบไฟฟ้า ในเรื่องวิธีการทำงานให้ปลอดภัยกับไฟฟ้า การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ถูกกระแสไฟฟ้า วิธีการขอความช่วยเหลือฉุกเฉินในโรงพยาบาล ข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย ที่จะเกิดจากการทำงาน หรือสัมผัสกระแสไฟฟ้า ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการช็อค เนื่องจากกระแสไฟฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น