วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ดอกเบญจมาศ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendranthemum grandifflora (เดิมชื่อ Chysanthemum morifolium)
วงศ์ : Asteraceae(เดิมวงศ์ Compositae)
ถิ่นกำเนิด : ในประเทศญี่ปุ่นและจีน
เบญจมาศเป็นดอกประเภท Head เกิดจากการรวมดอกย่อย 2 ชนิด คือ กลีบดอกชั้นนอก (Ray floret) ซึ่งเป็นดอกตัวเมีย ไม่มีเกสรตัวผู้ และกลีบดอกชั้นใน (Disk floret) ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เบญจมาศ แยกตามประโยชน์ใช้สอยและการปลูกปฏิบัติ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. Exhibition type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ไม่มีการเด็ดยอดแต่ต้องเด็ดตาข้าง ทิ้งเพื่อให้เหลือดอกยอดเพียง 1 ดอก
2. Standard type มีดอกเล็กกว่าประเภท แรก ต้องเด็ดยอดเพื่อให้แตกกิ่งข้าง 3-4 กิ่ง และเด็ดดอกข้างทิ้งให้เหลือดอกยอดเพียงดอกเดียว นิยมใช้เป็นไม้ตัดดอก 3. Spray type เบญจมาศประเภทนี้เป็นประเภทที่มีหลายดอกต่อ 1 กิ่ง และมี 6-10 กิ่งต่อต้น ไม่มีการเด็ดดอกข้าง ดอกมีขนาดเล็กกว่าประเภท Standard type ใช้ปลูกเป็นไม้ตัดดอกหรือถอนขายทั้งต้นโดยตัดรากทิ้ง 4. Potted plant เบญจมาศประเภทนี้ใช้ปลูกเป็นไม้กระถาง มีทรงพุ่มกะทัดรัด ดอกดก และมีดอกขนาดเล็กแตกกิ่งก้านมาก
เบญจมาศประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ดอกที่อยู่รอบนอกและมีการเจริญเติบโตดีกว่า มองเห็นกลีบดอกได้ชัดเจนกว่าเราจะเรียกว่า ดอกชั้นนอก ซึ่งเป็นดอกที่มีแต่เกสรตัวเมีย ไม่มีเกสรตัวผู้ ส่วนดอกที่อยู่วงในเข้าไปและมีการเจริญเติบโตช้า มองเห็นกลีบดอกไม่ชัดเจน เพราะมีกลีบดอกสั้น รวมกันเป็นกระจุกตรงกลางดอก ซึ่งมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่รวมกัน เบญจมาศนั้น มีสีเหลืองสวยงามแต่จะไม่มีกลิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น