วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ซูเฟลชอคโกแลต

สิ่งที่สำคัญคือ ชอคโกแลตที่ดี มีคุณภาพ และ การควบคุมอุณหภูมิ+เวลาที่เหมาะสม

Ingredients สำหรับ 5 ที่

-แป้งอเนกประสงค์ (All purpose flour) 1/4 ถ้วย
-ไข่ 4 ฟอง
-น้ำตาล 1/2 ถ้วย (ปรับตามความชอบได้)
-น้ำตาล สำหรับทาถ้วย ramekins
-semi sweet ชอคโกแลต อย่างดี (เราใช้ Lindt 80% cocao) 112 กรัม (1/4 lb)
-เนยจืด 112 กรัม (1/4 lb)

วิธีทำ

1 เตรียมเตาอบ ตั้งอุณหภูมิที่ 400 F or 204 C
2 ทาเนยในขอบและก้นถ้วย ramekins 5 ใบให้ทั่ว อาจใช้ถ้วยแก้วทนความร้อนเล็กๆแทนได้
3 เอาน้ำตาลมากลิ้งในถ้วย ramekins ที่ทาเนยแล้ว ให้ทั่ว (เวลาเอาเค้กออกจะได้ไม่ติดถ้วย)
4 ละลายเนยใน หม้อนึ่ง Double Boiler เราใช้หม้อเติมน้ำ 1สูงนิ้ว ต้มน้ำให้เดือด แล้ววางชามทนไฟบนหม้ออีกที
พอเนยละลายเกือบหมด หักชอคโกแลตลงไป กวนให้ละลายเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน (ไม่ใช้ความร้อนโดยตรงเพราะจะทำให้เนยแยกชั้นกับชอคโกแลต)
5 ผสมแป้ง ไข่ น้ำตาล 1/2ถ้วย ในชาม/ถ้วย/โถ ตีจนเข้ากัน
6 ใส่ 1/3 ของชอคโกแลตที่ละลายแล้ว ในส่วนผสมข้อ 5 (ไม่ใส่ชอคโกแลตจนหมดเพราะความร้อนจะทำให้ส่วนผสมแป้งสุกเป็นก้อน)
ตีให้เข้ากัน นี่เป็นการ warmส่วนผสมแป้ง
7 จากนั้นเทชอคโกแลตที่เหืลอทั้งหมด ตีให้เข้ากัน
8 เกือบเสร็จแล้วว เทส่วนผสมข้อ 7 ลง Ramikins หรือ ถ้วยทนความร้อน ประมาณ 3/4 ของถ้วย
9 เรียงถ้วย ใส่ถาดอบ Baking Sheet (จะได้เอาเข้าออก ง่าย) อบ 12 นาที
10 เสร็จแล้ววก็เอาออกมาวางพักซัก 10 นาที (ถ้าทนไม่ไหวกินเลยก็ได้) แล้าก็กินได้เลย
วิธีserve
1 กินในถ้วยก็ได้
2 แคะออกจากถ้วยโดยเอามีดเซาะขอบถ้วย แล้วคว่ำถ้วยลงจาน ถ้าทาเนย+โรยน้ำตาลที่ถ้วยดีๆ เค้กจะหลุดจากถ้วยอย่างง่ายดาย
serve กับ Vanilla ice cream + Whip cream

วิธีเก็บ
เอา plastic wrap ปิดแต่ละถ้วย เก็บเข้าตู้เย็น
เวลาจะกิน ก็ เอาเข้าMicrowave 25 วินาที

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ซุปข้าวโพด


ส่วนผสม
ข้าวโพดฝานบางๆ 1 ถ้วย
แป้งสาลี 1 ช้อนโต๊ะ
เนย 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
นมสด 1/2 ถ้วย
หอมหัวใหญ่สับละเอียด 1/4 ถ้วย
น้ำซุป 1 1/2 ถ้วย
เกลือป่นเล็กน้อย
วิธีทำ
นำกระทะตั้งไฟ ใส่เนยพอละลาย ใส่หอมหัวใหญ่ลงไปผัดพอมีกลิ่นหอม ใส่แป้งสาลีตามลงไปผัดพอเข้ากัน
เติมน้ำซุป ข้าวโพดที่เตรียมไว้ เกลือป่น คนให้เข้ากัน เคี่ยวต่อประมาณ 20 นาที (ถ้าเป็นข้าวโพดสดต้องฝานบางและต้มนานขึ้น ใช้น้ำซุป 2 ถ้วย เคี่ยวประมาณ 30–40 นาที)
ขั้นตอนสุดท้าย เติมนมสด คนให้ทั่ว พอเดือด ยกลงจากเตา แบ่งใส่ถ้วยเสิร์ฟ

วิธีทำขนมปังฝรั่เศส


ส่วนผสมสปองจ์
แป้งสาลีทำขนมปัง 31/2 ถ้วยตวง น้ำ 1 ถ้วยตวง ยีสต์ 1 1/2 ช้อนชา
ส่วนผสมโด
แป้งสาลีสำหรับทำขนมปัง 1 ถ้วยตวง น้ำเย็น 1/4 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 1 1/2 ช้อนชา เกลือ 1 1/2 ช้อนชา เนยขาว 1 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ผสมส่วนผสมของสปองจ์ ให้เข้ากันแล้วหมักไว้ 3 ชั่วโมง
2. เติมส่วนผสมของโด ยกเว้นเนยขาวลงในแป้งที่หมัก ผสมจนเข้ากันดี
3. เติมเนยขาวลงไป นวดแป้งจนเหนียวได้ที่ พักแป้งไว้ประมาณ 15 นาที
4. ตัดแบ่งแป้งออกเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนหนัก 270 กรัม ปั้นเป็นรูปหมอน พักแป้งไว้ประมาณ 15 นาที
5. คลึงแป้งออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หนาประมาณ 1/4 นิ้ว ม้วนแบบแยมโรลเป็นท่อนยาวประมาณ 15 นิ้ว วางบนถาดโรยแป้งไว้
6. รอให้ขนมปังขึ้นประมาณ 30 นาที หรือขึ้นประมาณ 3/4 ของแป้งที่ขึ้นได้เต็มที่
7. ย้ายแป้งออกจากถาดมาวางบนตะแกรงลวด ทาผิวขนมปังด้วยน้ำให้ทั่ว ใช้มีดบั้งเป็นเส้นทแยงมุม 4-5 บั้ง นำเข้าอบไฟ 350 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 30 นาที หรือจนกระทั่งผิวแข็งกรอบ นำออกจากเตาอบ

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อันตรายจากคอนแทคเลนส์

คอนแทคเลนส์ หรือ เลนส์สัมผัส จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่งที่ใช้เพื่อปรับสายตา แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเอาคอนแทคเลนส์มาใช้สวมใส่เพื่อความสวยงาม ซึ่งมีทั้งแบบที่ทำให้ดวงตาดูกลมโตขึ้น และแบบที่ช่วยเปลี่ยนสีตาเป็นสีต่าง ๆ ได้ กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณต้นปี 2549 ที่ผ่านมา โดยวัยรุ่นไทยนิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตา กลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น คอนแทคเลนส์แฟชั่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดี
ในนาม บิ๊กอายส์ หรือ คอนแทคเลนส์ตาโต ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ระยะเวลาการใช้งานก็มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี ปัจจุบันคอนแทคเลนส์แฟชั่นไม่ได้มีวางจำหน่ายแต่เฉพาะในร้านแว่นตา หรือคลินิกจักษุแพทย์เท่านั้น แต่ยังมีวางขายตามแผงค้าตามแหล่งแฟชั่น รวมไปถึงการวางจำหน่ายในเว็บไซต์ ทำให้ผู้บริโภคหาซื้อคอนแทคเลนส์แฟชั่นมาสวมใส่ได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่าจะใช้คอนแทคเลนส์เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม เลนส์ที่ใช้จะต้องสัมผัสกับผิวของดวงตาที่บอบบาง การติดเชื้อหรือฉีกขาดอาจเกิดได้ง่าย จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้คอนแทคเลนส์หากใช้ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ และอาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้ เหมือนกับข่าวเมื่อปลายปี 49 ที่ผ่านมา ที่มีชายชาวนิวซีแลนด์ที่ตาบจากการสวมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อความสนุกสนานในงานปาร์ตี้ จนเกิดการติดเชื้อหลังสวมใส่คอนแทคเลนส์นาน 3 วัน ทั้งนี้การใส่คอนแทคเลนส์จะต้องได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ โดยผู้สวมใส่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ หรือนักทัศนมาตรศาสตร์ หรือคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้จัดทำมาตรการกำกับดูแลคอนแทคเลนส์ทุกประเภทให้เข้มงวดมากขึ้น โดยได้จัดทำร่างประกาศกำหนดให้คอนแทคเลนส์ทุกประเภท เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า จะต้องแจ้งรายละเอียดต่ออย.ก่อนผลิตหรือนำเข้า อีกทั้งกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าต้องจำหน่ายคอนแทคเลนส์ให้กับสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น เช่น สถานพยาบาล ผู้บริโภคไม่ควรซื้อคอนแทคเลนส์ที่จำหน่ายตามแผงลอย เพราะอาจเป็นอันตรายถึงตาบอดได้ นอกจากนี้ อย. ยังได้กำหนดให้ฉลากของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะต้องมีคำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวังต่าง ๆ บนฉลากอย่างชัดเจน นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ประชาชนควรระมัดระวังการใช้คอนแทคเลนส์ทุกชนิด โดยไม่ควรซื้อมาใช้เอง และซื้อจากร้านที่เป็นแผงลอย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด และหากมีภาวะผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กะพริบตาไม่เต็มที่ ก็ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ สิ่งที่สำคัญที่ต้องระลึกถึงอยู่เสมอคือเรื่องสุขลักษณะ ต้องล้างมือให้สะอาดและทำให้แห้งก่อนสัมผัสเลนส์ การสวมและการเปลี่ยนเลนส์ก็ให้เป็นไปตามระยะที่กำหนด การล้างและการเก็บรักษาเลนส์ก็ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนภาชนะที่เก็บเลนส์ก็ต้องรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ห้ามใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับบุคคลอื่น ห้ามใส่ขณะว่ายน้ำเพราะอาจทำให้ติดเชื้อที่ตา และห้ามใส่เวลานอน ถึงแม้ว่าจะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม และต้องถอดทำความสะอาดทุกวัน หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมาก ร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัวลง น้ำตาไหลมาก ตาแดง ให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ทันที และให้รีบไปพบแพทย์หรือจักษุแพทย์โดยเร็ว...

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้าวหอมมะลิ




ข้าวหอมมะลิ (อังกฤษ: Thai jasmine rice) เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่ไหนในโลกไม่ได้คุณภาพดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก
ประวัติ
เมื่อปี พ.ศ. 2497 นายสุนทร สีหเนิน พนักงานข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอำเภอบางคล้า ได้จำนวน 199 รวง แล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อำนวยการกองบำรุงพันธุ์ข้าวในขณะนั้น) ได้ส่งไปปลูกคัดพันธุ์บริสุทธิ์และเปรียบเทียบพันธุ์ที่ สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง (ขณะนี้เป็นสถานีข้าวลพบุรี) ดำเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อนายมังกร จูมทอง ภายใต้การดูและของนายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้พันธุ์บริสุทธิ์ข้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105 และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ข้าวได้อนุมัติให้เป็นพันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร เมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยเกษตรกรทั่วไปเรียกว่า [ขาวดอกมะลิ 105] ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว [ขาวดอกมะลิ 105] จนได้ข้าวพันธุ์ [กข 15] ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย

ลักษณะจำเพาะของกลิ่นหอมมะลิ
ความหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิให้คงอยู่นานนั้นจึงควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เก็บข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำ 14-15% ลดความชื้นข้าวเปลือกที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป นักการเกษตรกรบางท่านกล่าวว่า การใช้ปุ๋ยโปตัสเซียมในการปลูก มีแนวโน้มช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอมมากขึ้น (ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน)

ผลกระทกรกหรือเสาวรส

กระทกรก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora foetida L.; ชื่อภาษาอังกฤษ: Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower) ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ รก กระโปรงทอง ละพุบาบี หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5 –6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วย “รก” ผลสุกมีสีเหลือง

ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายขึ้นอยู่ตามที่รกร้างหรือขอบไร่ชายนา และบริเวณป่าพื้นราบ โดยเลื้อยพันกิ่งต้นไม้อื่น ๆ
ประโยชน์ทางด้านอาหาร ยอด ใช้เป็นผักสด มีรสขมเล็กน้อย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกและใช้แกงเลียง ผล ใช้กินเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ด ทางด้านสมุนไพร เนื้อไม้ ใช้เป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิดและใช้รักษาบาดแผล ราก ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไข แก้กามโรค ใบ ใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ ดอก ขับเสมหะ แก้ไอ ผล แก้ปวด บำรุงปอด ใบสด ใช้พอกแก้สิว ต้น ใช้ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ และอาการบวม
กระทกรก หรืออีกชื่อหนึ่งคือ เสาวรสเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงสายตา และผิวพรรณ เนื่องจากมีวิตามินเอ สูง ทั้งยังช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ลดไขมันในเส้นเลือด และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในเสาวรสนั้นมีวิตามินซี สูง คือ ๓๙.๑ มก./๑๐๐ มก. ซึ่งมีมากกว่ามะนาวเสียอีก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เสาวรสที่ถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของฟื้นที่สูงในอเมริกาได้เป็นไม้ประเภทเลื้อยมีอายุหลายปีลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ แต่เสาวรสบางพันธุ์คือพันธุ์ผลสีเหลืองส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้น ดอกเสาวรสจะเกิดที่ข้อบริเวณโคนก้านใบของเถาใหม่พร้อมกับการเจริญของเถา โดยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะออกดอกติดผลเมื่อต้นมีอายุประมาณ 4-5 เดือน หลังปลูกลงแปลง แต่ถ้าเป็นต้นที่เสียบยอดหรือปักชำจะสามารถออกดอกติดผลได้เร็วขึ้น
ผลเสาวรสเป็นผลเดียว สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 50-70 วันหลังติดผล มีหลายลักษณะ เช่น กลม รูปไข่ หรือผลรียาวขึ้นอยู่กับพันธุ์ เปลือกผลและเนื้อส่วนนอกแข็งไม่สามารถรับประทานได้ผลมี 2 สีคือผลสีม่วงและผลสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้มหรือดำเป็นจำนวนมากแต่ละเมล็ดจะถูกหุ้มด้วยรกซึ่งบรรจุน้ำสีเหลืองมีลักษณะเหนียวข้นอยู่ภายใน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีความเป็นกรดสูง และส่วนที่นำไปใช้บริโภคก็คือส่วนที่เป็นน้ำสีเหลืองนี้เอง

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประตูชัยแห่งโอรองช์


ประตูชัยแห่งโอรองช์ (อังกฤษ: Triumphal Arch of Orange, ฝรั่งเศส: Arc de triomphe d'Orange) เปฺนประตูชัยที่ตั้งอยู่ที่เมืองโอรองช์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส เวลาที่สร้างประตูชัยยังเป็นที่ถกเถึยงกันอยู่แต่จากการค้นคว้าศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ยอมรับคำจารึกเป็นหลักฐานว่าสร้างในสมัยออกัสตัส บนถนนอกริพพาเดิมเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารผ่านศึกของสงครามกาลลิค และ กองกำลังเลจิโอที่ 2 ออกัสตา ต่อมาก็ได้รับการสร้างใหม่โดยจักรพรรดิไทบีเรียสเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของเจอร์มานิคัสที่มีต่อชนเผ่าต่างๆ ในบริเวณไรน์แลนด์ ประตูชัยมีคำจารึกอุทิศแก่จักรพรรดิไทบีเรียสในปี ค.ศ. 27 ด้านหน้าทางเหนือทางด้านนอก ส่วนล่างสุดของทับหลังและบัวถูกตัดออกไปเพื่อติดคำจารึก แต่ในปัจจุบันสูญหายไป และความพยายามที่จะสืบว่าคำจารึกคืออะไรก็ยังไม่ประสบความสำเร็จตัวประตูชัยตกแต่งด้วยประติมากรรมนูนที่เกี่ยวกับการทหาร ที่รวมทั้งการรบทางเรือ, การยึดทรัพย์สมบัติของฝ่ายที่แพ้, การรบระหว่างฝ่ายโรมันกับกลุ่มชนเจอรมานิค และ กอล ทหารราบโรมันถือโล่ที่มีตรากองกำลังเลจิโอที่ 2 ออกัสตาปรากฏบนประตูทางด้านเหนือ“ประตูชัยแห่งโอรองช์” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1981
ลักษณะ
ในยุคกลางประตูชัยใช้เป็นปราสาทในการรักษาทางเข้าเมืองทางตอนเหนือ สถาปนิกโอกุสแตง คาริสตีศึกษาประตูชัยและทำการบูรณปฏิสังขรณ์ในคริสต์ทศวรรษ 1850 เดิมประตูสร้างด้วยก้อนหินปูนโดยไม่ใช้ปูน (mortar) ตัวประตูเป็นซุ้มสามซุ้ม ซุ้มกลางเป็นซุ้มใหญ่กระหนาบด้วยซุ้มที่เล็กกว่าสองข้าง ขนาดของประตูยาว 19.57 เมตร กว้าง 8.40 เมตรและสูง 19.21 เมตรด้านนอกของแต่ละด้านเป็นเสาโครินเธียนสี่เสา ประตูเป็นประตูชัยที่เก่าแก่ที่สุดที่ต่อมานำไปใช้เป็นแบบในการก่อสร้างประตูชัยเซ็พติมิอัส เซเวอรัสในกรุงโรมและประตูชัยคอนสแตนติน

คาร์คาโซน


คาร์คาโซน (อ็อกซิตัน: Carcassona, อังกฤษ: Carcassonne ออกเสียง) เมืองคาร์คาโซนเป็นเมืองที่มีกำแพงป้องกันเมืองล้อมรอบที่ตั้งอยู่จังหวัดโอดในอดีตแคว้นลองเกอด็อกในประเทศฝรั่งเศส เมืองคาร์คาโซนแยกออกเป็นสองส่วน “Cité de Carcassonne” (ไทย: คาร์คาโซนเก่า) ซึ่งเป็นบริเวณเมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพงเมือง และ “ville basse” (ไทย: คาร์คาโซนใหม่) ซึ่งเป็นบริเวณปริมณฑลรอบตัวเมืองเก่า ที่มาของคาร์คาโซนมาจากตำนานพื้นบ้านที่กล่าวว่าหลังจากประมุขของปราสาทชื่อ “คาร์คาส” สามารถยุติการล้อมเมืองได้ก็ทำการสั่นระฆังเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง “Carcas sona” แต่การสร้างเป็นประติมากรรมฟื้นฟูกอธิคบนคอลัมน์บนประตูนาร์บอนเป็นของใหม่ ป้อมปราการที่บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดในปี ค.ศ. 1853 โดยสถาปนิกเออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุคได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1997
ประวัติ
การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในภูมิภาคคาร์คาโซนเริ่มขึ้นราว 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่เนิน “คาร์ซัค” (Carsac) ซึ่งเป็นภูมินามภาษาเคลต์ใช้เป็นชื่อในบริเวณอื่นทางตอนใต้ กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญทางการค้าขายมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 ต่อมาชนเผ่า Volcae Tectosages ก็สร้างกำแพงป้องกันล้อมรอบขึ้นเป็น “โอพพิดัม
คาร์คาโซนกลายเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์เมื่อโรมันทำการสร้างระบบป้องกันบนเนินราว 100 ปีก่อนคริสต์ศักราชและในที่สุดก็ยกฐานะขึ้นเป็น “เมืองโรมันระดับโคโลเนีย” ชื่อ “จูเลีย คาร์ซาโค” (Julia Carsaco) ที่ต่อมาเปลี่ยนเป็น “คาร์คาซุม” (Carcasum) ส่วนสำคัญของตอนล่างของกำแพงเมืองทางตอนเหนือมีอายุมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมกอล-โรมัน ในปี ค.ศ. 462 โรมันยกเซ็พติเมเนียอย่างเป็นทางการให้แก่พระเจ้าธีโอโดริคที่ 2 กษัตริย์แห่งชาววิซิกอธผู้ครองคาร์คาโซนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 453 พระเจ้าธีโอโดริคทรงสร้าง ระบบการป้องกันขึ้นใหม่ในบริเวณคาร์คาโซน ซึ่งเป็นที่มั่นชายแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรชายแดนเหนือ (northern marches) ซึ่งยังคงมีร่องรอยเหลืออยู่ให้เห็น นอกจากนั้นก็ยังเชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้สร้างคริสต์ศาสนสถานก่อนหน้าที่จะกลายมาเป็นบาซิลิกาที่ในปัจจุบันอุทิศให้แก่นักบุญนาซาเรียส ในปี ค.ศ. 508 ชาววิซิกอธก็สามารถได้ชัยชนะต่อการโจมตีของกษัตริย์แฟรงค์โคลวิสที่ 1 ได้ ซาราเซนจากบาร์เซโลนายึดคาร์คาโซนได้ในปี ค.ศ. 725 แต่สมเด็จพระเจ้าเปแปงเดอะชอร์ททรงสามารถขับซาราเซนออกจากคาร์คาโซนได้ในระหว่างปี ค.ศ. 759 ถึงปี ค.ศ. 760 แม้ว่าสมเด็จพระเจ้าเปแปงเดอะชอร์ทจะทรงยึดดินแดนต่างทางตอนใต้ของฝรั่งเศสได้แทบทั้งสิ้นแต่พระองค์ก็ไม่ทรงสามารถบุกเข้ายึดป้อมปราการคาร์คาโซนได้
ในยุคกลางอาณาจักรเคานท์แห่งคาร์คาโซนมีอำนาจปกครองเมืองและบริเวณใกล้เคียง โดยทั่วไปแล้วคาร์คาโซนก็มักจะเป็นพันธมิตรกับอาณาจักรเคานท์แห่งราเซส์ ที่มาของการเป็นอาณาจักรเคานท์ของคาร์คาโซนก็อาจจะมาจากการมีผู้แทนท้องถิ่นของวิซิกอธ แต่เคานท์คนแรกที่มีหลักฐานบันทึกชื่อเบลโล เคานท์แห่งคาร์คาโซนในสมัยของชาร์เลอมาญ เคานท์เบลโลก่อตั้งตระกูลเบลโลนิดส์ (Bellonids) ผู้ปกครอง “honores” หลายแห่งในเซ็พติเมเนียและคาเทโลเนียเป็นเวลาราวสามร้อยปี
ในปี ค.ศ. 1067 คาร์คาโซนก็กลายเป็นสมบัติของเรมงด์ แบร์นาร์ด ทรองคาเวล ไวส์เคานท์แห่งอาลบี และนีมส์โดยการสมรสกับแอร์มองการ์ดน้องสาวของเคานท์แห่งคาร์คาโซนคนสุดท้าย ในช่วงหลายร้อยปีต่อมาตระกูลทรองคาเวลก็เป็นพันธมิตรกับไม่เคานท์แห่งบาร์เซโลนาก็เคานท์แห่งตูลูส และได้ทำการสร้าง “Château Comtal” (ไทย: วังเคานท์) และ บาซิลิกาแซงต์นาแซร์ ในปี ค.ศ. 1096 สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ทรงเจิมศิลาฤกษ์ของมหาวิหารใหม่ที่เป็นมหาวิหารที่มั่นของโรมันคาทอลิกในการต่อต้านฝ่ายคาทาร์
คาร์คาโซนกลายมามีบทบาทความสำคัญระหว่างสงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียนเมื่อตัวเมืองกลายเป็นที่มั่นของอ็อกซิตันคาทาร์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1209 กองทัพครูเสดของไซมอนเดอมอนฟอร์ท เอิร์ลแห่งเลสเตอรที่ 5 บังคับให้ชาวเมืองยอมจำนน หลังจากทำการจับกุมและคุมขังเรมงด์-โรเจอร์ เดอ ทรองคาเวลและปล่อยให้เสียชีวิตแล้ว ไซมอนเดอมอนฟอร์ทก็ตั้งตนเป็นไวส์เคานท์ และสร้างเสริมระบบป้อมปราการ คาร์คาโซนกลายที่มั่นชายแดนระหว่างฝรั่งเศสและราชอาณาจักรอารากอน (สเปน)
ในปี ค.ศ. 1240 บุตรชายของทรองคาเวลพยายามยึดคาร์คาโซนคืนแต่ล้มเหลว คาร์คาโซนกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1247 พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ทรงก่อตั้งบริเวณใหม่ของเมืองอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำจากคาร์คาโซน พระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าฟิลิปที่ 3 ผู้ครองราชย์ต่อจากพระองค์ทรงสร้างเชิงเทินด้านนอก ระหว่างสงครามร้อยปีในปี ค.ศ. 1355 เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำพยามยามจะตีเมืองแต่ไม่สำเร็จ แต่ก็กองทหารของพระองค์ก็ทำลายเมืองล่าง
ในปี ค.ศ. 1659 สนธิสัญญาพิเรนีสขยายเขตแดนของฝรั่งเศสไปถึงรูซียง ซึ่งทำให้ความสำคัญของคาร์คาโซนลดถอยลง ป้อมปราการต่างๆ ก็ถูกละทิ้ง คาร์คาโซนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่ทำการค้าขายอุตสาหกรรมผ้าขนแกะ ที่ในปี ค.ศ. 1723 แฟร์นองด์ โบรเดลบันทึกว่าคาร์คาโซนเป็น “ศูนย์กลางของการผลิตของลองเกอด็อก”
สถานที่ที่น่าสนใจ
เมืองล้อมด้วยกำแพง
คาร์คาโซนถูกลบออกจากรายชื่อทางการของเมืองที่มีระบบป้องกันในรัชสมัยของนโปเลียนและสมัยฟื้นฟู เมืองล้อมด้วยกำแพงแห่งคาร์คาโซนเสื่อมโทรมลงจนอยู่ในสภาพที่รัฐบาลฝรั่งเศสตัดสินใจว่าควรจะรื้อทิ้ง พระราชประกาศที่ออกมาในปี ค.ศ. 1849 ก่อให้เกิดการประท้วงกันอย่างขนานใหญ่ นักโบราณศึกษา (antiquary) และนายกเทศมนตรีของคาร์คาโซน Jean-Pierre Cros-Mayrevieille และ นักเขียนพรอสแพร์ เมอริมีผู้ตรวจสอบอนุสาวรีย์โบราณคนแรกเป็นผู้นำในการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์ป้อมปราการไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ ต่อมาในปีเดียวกันสถาปนิกเออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุคผู้ที่ขณะนั้นกำลังทำงานซ่อมบาซิลิกาแซงต์นาแซร์อยู่แล้วก็ได้รับการจ้างให้บูรณปฏิสังขรณ์
ในปี ค.ศ. 1853 การบูรณปฏิสังขรณ์ก็เริ่มขึ้นที่กำแพงด้านตะวันตกและด้านด้านตะวันตกเฉียงใต้ของกำแพง ตามด้วยหอของ “ประตูนาร์บอน” (porte Narbonnaise) และ ประตูทางเข้าหลักของตัวเมือง ป้อมบางส่วนก็ได้รับการผสานเข้าด้วยกัน และสิ่งสำคัญของโครงการคือการบูรณปฏิสังขรณ์หลังคาของหอและเชิงเทิน ในบางจุดเออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุคก็สั่งให้ทำลายโครงสร้างที่อิงกำแพง ที่บางครั้งเป็นโครงสร้างที่เก่าแก่ วียอเลต์-เลอ-ดุคทิ้งบันทึกอันละเอียดละออเกี่ยวกับการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อเสียชีวิต ในปี ค.ศ. 1879 ที่ Paul Boeswillwald ผู้เป็นลูกศิษย์และต่อมาสถาปนิกโนเดต์ใช้ในการดำเนินซ่อมแซมต่อมา
การบูรณปฏิสังขรณ์ได้รับการวิจารณ์อย่างหนักขณะที่วียอเลต์-เลอ-ดุคยังคงมีชีวิตอยู่ เพิ่งเสร็จจากงานที่ทำอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสใหม่วียอเลต์-เลอ-ดุคมาใช้แผ่นหินชนวนในการซ่อมหลังคาที่เป็นรูปกรวยแหลม ซึ่งทางตอนใต้ของฝรั่งเศสจะนิยมใช้กระเบื้องและมุมตื้นเพราะเป็นภูมิภาคที่ไม่มีหิมะ แต่กระนั้นลักษณะโดยทั่วไปของงานที่บูรณะเสร็จก็เป็นที่เห็นพ้องกันว่าเป็นงานชิ้นเอง แม้จะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงทางสถาปัตยกรรมนักก็ตาม

พิพิธภัณฑ์ลูฟว์



แต่เดิมเป็นพระราชวังที่ใหญ่โตมากที่สุดของโลก สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าฟิลิปป์ ออกุสต์ ในปี ค.ศ 1204 แต่มาเสร็จในสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ปี ค.ศ 1856 รวมใช้เวลาก่อสร้างถึง 7 รัชกาล เริ่มเปลี่ยนสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่ ค.ศ 1791 ปัจจุบันพระราชวังเก่าแก่แห่งนี้ มีสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญและใหญ่โตที่สุดในปารีส ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นที่เก็บรักษาวัตถุโบราณต่างๆที่มีค่าและมีชื่อเสียงของโลก เช่น ภาพเขียน La Jaconde หรือภาพโมนาลิซ่า อันเป็นภาพวาดของ Léonard de Vinci จิตกรและสถาปนิกชาวอิตาเลียน พิพิธภัณฑ์นี้เป็นตึก 3 ชั้น ประกอบด้วยห้องถึง 225 ห้อง มีลวดลายสวยงาม
เป็นอย่างยิ่ง ทางตะวันตกของพิพิธภัณฑ์ติดกับแม่น้ำแซน ภายในมีวัตถุโบราณซึ่งเป็นศิลปะอันล้ำค่าจากชาติต่างๆที่ฝรั่งเศสเคยมีอิทธิพลปกครองมาในอดีต ส่วนใหญ่ได้มาจากตะวันออกกลางและอาณานิคมจากประเทศในเอเซีย เช่น รูป La Victoire de Samothrace, Vénus de Milo พิพิธภัณฑ์นี้ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันอังคารและวันหยุดของทางราชการ วันพุธและวันอาทิตย์เปิดให้เข้าชมฟรี
ในปี 1981 Monsieur Ioeh Ming Pei สถาปนิกชาวอเมริกัน ได้เริ่มโครงการสร้างทางเข้าพิพิธภัณฑ์เป็นรูปปิรามิดแผ่นแก้ว ครอบคลุมเนื้อที่บนลาน Napoléon เพื่อเป็นจุดรวมของทางเข้าพิพิธภัณฑ์อันเป็นศูนย์กลางที่ให้ข้อมูลในการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ใช้เป็นสถานที่นัดพบ ประชาสัมพันธ์ จุดเริ่มต้นของการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ โดยมีที่สำหรับนั่งพักผ่อน แผนกรับฝากของ ที่ทำการไปรษณีย์ ที่รับแลกเปลี่ยนเงิน สำนักงานท่องเที่ยว แผนกต้อนรับ ห้องประชุม เอนกประสงค์ขนาด 430 ที่นั่ง ห้องสมุด ร้านค้า ภัตตาคาร รวมถึงแผนกบริหารงานบุคคล ห้องเก็บของ ห้องสำหรับงานบูรณะปฏิสังขรณ์ ห้องปฎิบัติการทดลองด้วย การก่อสร้างทุกอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี 1995 รวมเวลา 14 ปี

ในปี 1981 Monsieur Ioeh Ming Pei สถาปนิกชาวอเมริกัน ได้เริ่มโครงการสร้างทางเข้าพิพิธภัณฑ์เป็นรูปปิรามิดแผ่นแก้ว ครอบคลุมเนื้อที่บนลาน Napoléon
เพื่อเป็นจุดรวมของทางเข้าพิพิธภัณฑ์อันเป็นศูนย์กลางที่ให้ข้อมูลในการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ใช้เป็นสถานที่นัดพบ ประชาสัมพันธ์ จุดเริ่มต้นของการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ โดยมีที่สำหรับนั่งพักผ่อน แผนกรับฝากของ ที่ทำการไปรษณีย์ ที่รับแลกเปลี่ยนเงิน สำนักงานท่องเที่ยว แผนกต้อนรับ ห้องประชุม เอนกประสงค์ขนาด 430 ที่นั่ง ห้องสมุด ร้านค้า ภัตตาคาร รวมถึงแผนกบริหารงานบุคคล ห้องเก็บของ ห้องสำหรับงานบูรณะปฏิสังขรณ์ ห้องปฎิบัติการทดลองด้วย การก่อสร้างทุกอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี 1995

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ดอกเบญจมาศ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendranthemum grandifflora (เดิมชื่อ Chysanthemum morifolium)
วงศ์ : Asteraceae(เดิมวงศ์ Compositae)
ถิ่นกำเนิด : ในประเทศญี่ปุ่นและจีน
เบญจมาศเป็นดอกประเภท Head เกิดจากการรวมดอกย่อย 2 ชนิด คือ กลีบดอกชั้นนอก (Ray floret) ซึ่งเป็นดอกตัวเมีย ไม่มีเกสรตัวผู้ และกลีบดอกชั้นใน (Disk floret) ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เบญจมาศ แยกตามประโยชน์ใช้สอยและการปลูกปฏิบัติ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. Exhibition type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ไม่มีการเด็ดยอดแต่ต้องเด็ดตาข้าง ทิ้งเพื่อให้เหลือดอกยอดเพียง 1 ดอก
2. Standard type มีดอกเล็กกว่าประเภท แรก ต้องเด็ดยอดเพื่อให้แตกกิ่งข้าง 3-4 กิ่ง และเด็ดดอกข้างทิ้งให้เหลือดอกยอดเพียงดอกเดียว นิยมใช้เป็นไม้ตัดดอก 3. Spray type เบญจมาศประเภทนี้เป็นประเภทที่มีหลายดอกต่อ 1 กิ่ง และมี 6-10 กิ่งต่อต้น ไม่มีการเด็ดดอกข้าง ดอกมีขนาดเล็กกว่าประเภท Standard type ใช้ปลูกเป็นไม้ตัดดอกหรือถอนขายทั้งต้นโดยตัดรากทิ้ง 4. Potted plant เบญจมาศประเภทนี้ใช้ปลูกเป็นไม้กระถาง มีทรงพุ่มกะทัดรัด ดอกดก และมีดอกขนาดเล็กแตกกิ่งก้านมาก
เบญจมาศประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ดอกที่อยู่รอบนอกและมีการเจริญเติบโตดีกว่า มองเห็นกลีบดอกได้ชัดเจนกว่าเราจะเรียกว่า ดอกชั้นนอก ซึ่งเป็นดอกที่มีแต่เกสรตัวเมีย ไม่มีเกสรตัวผู้ ส่วนดอกที่อยู่วงในเข้าไปและมีการเจริญเติบโตช้า มองเห็นกลีบดอกไม่ชัดเจน เพราะมีกลีบดอกสั้น รวมกันเป็นกระจุกตรงกลางดอก ซึ่งมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่รวมกัน เบญจมาศนั้น มีสีเหลืองสวยงามแต่จะไม่มีกลิ่น

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติน้ำหอม

ในประเทศฝรั่งเศส ยุคแห่งปรัชญาและการประวัติทางวัฒนธรรม และยังเป็นยุค แห่งความโชติช่วงของแวดวงน้ำหอมด้วยเช่นกัน ในพระราชสำนักของพระเจ้า หลุย์ที่ 15 (LOUIS XV) ซึ่งได้รับ การขนานนามว่าเป็นราชสำนักแห่งน้ำหอม เครื่องหอมนานา ชนิดไม่ได้ถูกนำไปใช้เฉพาะกับร่างกายเท่านั้น แต่ยังได้ถูกนำ ไปใช้เพิ่มความหอมให้กับเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า พัด ตลอดจนเฟอร์นิเจอร์ ต่างๆเพื่อให้กลิ่นหอมตลบไปทั่วเขต พระราชฐาน
ในขณะที่ Beaux De Senteur (เครื่องหอมชื่อดังในสมัยนั้น) ได้รับความนิยมอย่าง กว้างขวางมากขึ้น การแข่งขันในการผลิตเครื่องหอม ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูป แบบให้ซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน โดยมีการ ละลายเครื่องหอมกับน้ำส้มสายชูและเกลือ (vinaigre de toilette or salts) เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรค และดับกลิ่นไม่พึง ประสงค์ หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงสูงสุดในยุคนั้นชื่อ “four thieves vinaigre” (ซอสหอมชนิดหนึ่งของฝรั่งเศส) และได้สร้างความมั่งคั่งให้กับเจ้าของสินค้าในเมือง MARSEILLES อย่างมหาศาล
ในปี คศ. 1720 ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส ได้ปรากฏชื่อ four thieves(สี่จอมโจร) ซึ่งไม่มีใครไม่รู้จัก กลุ่มโจรขโมยสมบัติตามหลุมฝังศพของบรรดาเศรษฐีของฝรั่งเศส ครั้งหนึ่งกลุ่มสี่จอม โจรได้เข้าไปขโมยขุดหลุมฝังศพแห่งหนึ่งซึ่งเป็นศพที่ติดเชื่อโรคระบาด แต่ทั้งสี่กลับปลอดภัยจากการ ติดเชื้อเนื่องจาก Vinaigre ที่ทั้งสี่ได้ผลิตขึ้นใช้เอง และหลังจากสี่จอมโจรถูกจับเรื่องราวที่พวกเขา ปลอดภัยจากโรคติดต่อก็แพร่สะพัดไปทั่วฝรั่งเศส และทั้งสี่ก็จำเป็นต้องขายสูตรมหัศจรรย์ของเขาให้ผู้อื่น ด้วยผลตอบแทนอันน้อยนิด ดูเหมือนว่าสูตรลับของเหล่าโจรจะมีความสามารถในการขับไล่แมลงร้ายต่าง ๆ ซึ่งเป็นพาหะในการแพร่เชื้อโรคมาสู่ร่างกายมนุษย์
ในศตวรรษ์ที่ 18 เป็นช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติน้ำหอมสู่ยุคใหม่ พร้อมกับการเกิด Eau de cologne (ออดิโคโลญน์) สารเหลวแห่งความสดชื่น อันประกอบด้วย ROSEMARY, NEROLI(ORANGE FLOWER), BERGAMOT, และ LEMON OIL Eau de cologne ได้ถูกนำไปใช้งานใน หลากหลายรูปแบบ บ้างก็ใช้ผสมน้ำสำหรับแช่อาบ(การแช่ในอ่างอาบน้ำได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และปฏิบัติเป็นกิจวัตในยุคนั้น) บ้างใช้ทำน้ำยาบ้วนปาก บ้างใช้ทำน้ำยาสวนทวารหนัก (DETOX) บ้างใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับฟอกเรือนร่าง และยังมีการใช้ฉีดเข้าร่างกายโดยตรง เป็นต้น จากความนิยม สูงสุดของ Eau de cologne ทำให้เกิดการโต้แย้งอวดอ้างมากมายถึงสรรพคุณในผลิตผลของเจ้าของ สูตรแต่ละราย ต่างก็เขียนสูตรของตนเองเป็นเอกสารเพื่อล้มล้างเอาชนะสร้างความน่าเชื่อถือกับฝ่าย ตรงข้าม และหนึ่งในตัวอย่างคือความขัดแย้งระหว่างตระกูล FEMINIS และ ตระกูลFARINA FAMILIES หนึ่งในผู้นำทฤษฎีที่น่าเชื่อถือที่สุดคือตระกูล FARINA FAMILY FORM EMILIA ทางตอนเหนือของอิตาลี ผู้ค้นพบสูตรน้ำหอมดังแห่งยุคชื่อ Eau de bologna อีกสูตรที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวาง ระหว่างศตวรรษที่ 14 คือ Aqua regina น้ำหอมสูตรลับของสำนักแม่ชี SANTA MARIA NEVELLA IN FLORENCE สูตรลับนี้ถูกปิดเป็นความลับมาตลอดจน กระทั่งศตวรรษที่ 17 ได้มีชาวอิตาเลียนชื่อ Giovanni paolo feminis ได้ลวงให้หัวหน้าแม่ชีเปิดเผย สูตรลับ Aqua regina ให้กับตน หลังจากได้สูตรลับนี้แล้ว Giovanni Paolo ได้ประกาศตนเป็นนักปรุงน้ำหอม ดำเนินการผลิต Colonge ภายใต้ชื่อ “Eau Admirable” โดยไม่ต้องเสียเวลาแม้แต่นาทีเพื่อคิดค้น สูตร ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “Eau de cologne” และสูตรน้ำหอมนี้ต่อมาได้ตกทอดสู่มือหลานชาย ชื่อ Gian Maria Farina ผู้ซึ่งสืบทอดและขยายกิจการของลุงให้ใหญ่โตจนถึง คศ.1766 หลังการจาก ไปของ Gian maria farina บุคคลอื่น ๆ ในตระกูล Farina ก็ได้เข้าอ้างสิทธิในสูตรลับ Eau de Cologne และต่อมาในปี คศ. 1865 พบว่ามีร้านจำหน่าย Cologne ในชื่อนี้มากกว่า สามสิบเก้าร้าน กระจายอยู่ทั่วไป อย่างไรก็ตาม Jean marie farina (ไม่มีผู้ใดทราบว่าเป็นนามจริงหรือสมมุติขึ้น) ได้ริเริ่มแนวคิดที่จะผลิต cologne ของเขาให้แตกต่างจากร้านอื่น ๆ โดยได้ตั้งหลักปักฐานขึ้นในเมือง ปารีส ประเทศฝรั่งเศสในปี คศ.1806 คุณภาพที่ดีเยี่ยมของน้ำหอมที่เขาผลิตขึ้นประกอบกับความเป็น อัจฉริยะทางการขายของคู่ครองของเขา ได้ทำให้น้ำหอมที่เขาผลิตขึ้นสร้างชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว เห็นได้จากหนึ่งในลูกค้าประจำที่สำคัญคือ จักรพรรดิ Napoleon ที่ยิ่งใหญ่แห่งฝรั่งเศสเรื่องราวเกี่ยวกับน้ำหอมที่น่าสนใจอีกเรื่องต้องขอย้อนกลับไปในปี คศ. 1792 ในงานแต่งงานของบุตร ชายนายธนาคาร ชื่อ Wihelm ณ.สำนักงานใหญ่ของธนาคาร MÜLHENS BANK ในเมือง Cologne ประเทศเยอรมันนี มีพระสงฆ์ที่มาร่วมงานผู้หนึ่ง ได้มอบเอกสารเขียนด้วยลายมือ ซึ่งเป็นสูตร ลับในการผลิตสารที่มีกลิ่นหอม และมีคุณสมบัติทางยาให้เป็นของขวัญแก่คู่บ่าวสาว ชื่อ “Aqua mirabilis” ต่อมาเจ้าบ่าวหนุ่มน้อยได้ใช้สูตรนี้ในการผลิตและจำหน่ายน้ำหอมนี้ภายใต้ชื่อสินค้า “4711 The true eau de cologne” (4711 คือ เลขที่บ้านที่เขาอยู่ซึ่งกำหนดโดยกองทัพของ จักรพรรดิ์ Napoleon) eau de cologne 4711 ของเขายังคงจำหน่ายมาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลากว่า สองร้อยปี โดยผู้สืบทอดทางสายโลหิตของเขา Ferdinand Mülhens และยังคงใช้สูตรดั่งเดิมเหมือน เมื่อปี ค.ศ. 1792
ในศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่มีการพัฒนาภาชนะบรรจุน้ำหอมให้มีความหลากหลาย ไปตามชนิดของ น้ำหอมและการใช้งาน ฟองน้ำชุบด้วยน้ำหอมบรรจุอยู่ในภาชนะ เคลือบหรือทาไว้ด้วยทอง(AIR FRESHERNER ชนิดแรก) น้ำหอมชั้นดีที่ บรรจ ุในภาชนะรูปทรงแพร (pear shape) เป็นขวดน้ำหอมโปรดของพระเจ้า หลุยส์ที่ 14 นอกจากนี้ภาชนะที่ทำจากแก้ว เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดย เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการเปิดโรงงานผลิตเครื่องแก้ว BACCARAT FACTORY ของประเทศ ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1765 และยังมีความมุ่งมั่นที่จะ พัฒนารูปแบบและคุณภาพ
ของบรรจุภัณฑ์เครื่องแก้วของโรงงาน SAINT-LOUIS GLASSWORKS เจ้าของเครื่องแก้ว คริสตัล (crystal) ที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ผลิตเครื่องประดับที่ได้เริ่มหันมาผลิตภาชนะ บรรจุน้ำหอมโดยใช้ทองและเงินแกะสลักลวดลายอย่างงดงาม ลักษณะของขวดน้ำหอมจะใช้แนวศิลปะ แบบ BAROQUEในศตวรรษที่17 เป็นแรงบันดาลใจ แบบฉบับเฉดเช่นของChinoiserie และ Rousseaus Cherished ซึ่งเน้นการกลับสู่ธรรมชาติ ส่วนศิลปะจีนในยุคนั้นจะมุ่งเน้นในการผลิต ภาชนะ Chantilly porcelain bottles (ขวดที่ทำจากเครื่องปั่นดินเผาเคลือบ) ในขณะที่ SAINT-CLOUD FACTORY ดูจะมีชื่อเสียงในการชุบทองและ Sèvres สำหรับภาชนะรูปทรงแพร (pear-shape bottles) แต่ดูเหมือนว่าภาชนะดินเผาเคลือบแบบจีน จะมีคุณสมบัติในการเก็บรักษาคุณภาพ น้ำหอมได้ดีกว่าภาชนะบรรจุของเยอรมันนี,ออสเตรียและอังกฤษ โรงงาน CHELSEA FACTORY ของอังกฤษเป็นผู้เชียวชาญในการผลิตขวดน้ำหอมแกะสลักรูปต่าง ๆ โดยเฉพาะรูปมนุษย์ สัตว์ และผลไม้ โดยส่วนหัวมักจะเป็นจุกหรือฝาเปิดของขวด ขณะเดียวกันโรงงานขวด WEDGWOOD BOTTLES
ของอังกฤษมักออกแบบขวดน้ำหอมเป็นสีน้ำเงินและขาว ในเยอรมันนี โรงงาน MEISSEN FACTORY เป็นโรงงานแรกในยุโรปที่ผลิต porcelain โดยใช้ hard poste (ดินเปียกเหนียวสำหรับปั้นภาชนะ) รูปแบบอย่าง Rococo designs, oriental motifs,รูปดอกไม้,รูปผลไม้และรูปการสู้รบดูจะเป็นที่นิยม มากในสมัยนั้น ในขณะที่โรงงาน CHELESEA FACTORY ของอังกฤษดูจะ ชำนาญในการทำภาชนะไปตามคุณลักษณะของ Commedia dell’arte
ศตวรรษที่ 18 ยังเป็นยุคสมัยของศิลปะ nécessaire ซึ่งเป็นภาชนะบรรจุน้ำหอม ขนาดเล็ก เช่นเดี่ยวกับหลอดแก้วเล็ก ๆ ที่ใช้ในการบรรจุน้ำหอม รูปแบบภาชนะ ที่เรียกกันว่า nécessaire เหล่านี้ มักจะได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งของทรงยาว เช่น ดินสอ แปรงสีฟัน แม้กระทั่งที่สำหรับขูดลิ้น ตลอดจนไม้แคะหูเป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กระเทียม



กระเทียม
กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) เทียม (ใต้) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระเทียมเป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอก เดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ

สรรพคุณทางยา
-รักษาโรคบิด
-ป้องกันมะเร็ง
-ลดระดับไขมัน คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
-ขับพิษ และ สารอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
-ขับลม

มะเขือเทศ




มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculuentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด
ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุกอายุเพียง 1 ปี ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม มีขนอ่อน ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ ออกสลับกัน ใบย่อยมีขนาดไม่เท่ากัน บางใบเล็กรียาว บางใบกลมใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักลึกคล้ายฟันเลื่อยมีขนอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อหรือดอกเดี่ยว บริเวณซอกใบ ดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวประมาณ 5-6 กลีบ ผลเป็นผลเดี่ยว มีขนาดรูปร่างและสีต่างกัน ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 3 เซนติเมตร จนถึงใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างมีทั้งกลม กลมแบน หรือกลมรี ผิวนอกลีบเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียว หรือเขียวอมเทา เมื่อสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดง เนื้อภายในฉ่ำด้วยน้ำมีรสเปรี้ยว เมล็ดมีเป็นจำนวนมาก มะเขือเทศมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์สีดา พันธุ์โรมาเรดเพียร์ เป็นต้น
ชื่ออื่น : มะเขือ (ทั่วไป) มะเขือส้ม (ภาคเหนือ) ตรอบ (สุรินทร์) น้ำเนอ (เชียงใหม่)
ประโยชน์
มะเขือเทศมีสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนั้นจึงใช้เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปากที่เกิดจากเชื้อราได้
มะเขือเทศมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ คือ ไลโคปีน ที่มีคุณสมบัติสามารถลดการเกิดมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ หากทานมะเขือเทศ 10 ครั้ง/สัปดาห์ จะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายได้ถึง 45% นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีเบต้าแคโรทีน และฟอสฟอรัสมาก ที่มะเขือเทศมีรสชาติอร่อยนั้น เพราะมีกรดอะมิโนที่ชื่อกลูตามิคสูง กรดอะมิโนนี้เองเป็นตัวเพิ่มรสชาติให้อาหาร ทั้งยังเป็นกรดอะมิโนตัวเดียวกับที่อยู่ในผงชูรสด้วย
รักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะนำมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม
ในผลมะเขือเทศมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินเค โดยเฉพาะวิตามินเอ และวิตามินซี มีในปริมาณสูง มีกลดมาลิค กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิค (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารเบต้าแคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น
มะเขือเทศมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างสูง เพราะมะเขือเทศมี วิตามินพี (citrin) ซึ่งจะช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด มะเขือเทศยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจึงสามารถแก้อาการความดันโลหิตสูง มะเขือเทศมีวิตามินเอจึงสามารถรักษาโรคตาได้ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือมีวิตามินซีมากทำให้สามารถป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ช่วยระบบการย่อยและช่วยการขับถ่ายอุจจาระอีกด้วย
ช่วยบำรุงผิวลดริ้วรอย ผิวพรรณไม่แห้งกร้าน ระบบการหมุนเวียนเลือดดีขึ้น และยังสามารถต้านมะเร็งได้ด้วย

Angkor Wat


Angkor Wat (or Angkor Vat) (Khmer: អង្គរវត្ត) is a Hindu temple complex at Angkor, Cambodia, built for the king Suryavarman II in the early 12th century as his state temple and part of his capital city. As the best-preserved temple at the site, it is the only one to have remained a significant religious centre since its foundation — first Hindu, dedicated to the god Vishnu, then Buddhist. The temple is the epitome of the high classical style of Khmer architecture. It has become a symbol of Cambodia, appearing on its national flag, and it is the country's prime attraction for visitors.
Angkor Wat combines two basic plans of Khmer temple architecture: the temple mountain and the later galleried temple, based on early South Indian Hindu architecture, with key features such as the Jagati. It is designed to represent Mount Meru, home of the devas in Hindu mythology: within a moat and an outer wall 3.6 kilometres (2.2 mi) long are three rectangular galleries, each raised above the next. At the centre of the temple stands a quincunx of towers. Unlike most Angkorian temples, Angkor Wat is oriented to the west; scholars are divided as to the significance of this. The temple is admired for the grandeur and harmony of the architecture, its extensive bas-reliefs and for the numerous devatas (guardian spirits) adorning its walls.
The modern name, Angkor Wat, means "City Temple"; Angkor is a vernacular form of the word នគរ nokor which comes from the Sanskrit word नगर nagara meaning capital or city. wat is the Khmer word for temple. Prior to this time the temple was known as Preah Pisnulok, after the posthumous title of its founder, Suryavarman II.
นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ในประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นศาสนสถานประจำนครของพระองค์ เมื่อสมัยแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในปัจจุบันปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งก่อสร้างสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา และได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนครปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอมในปี ค.ศ. 1586 พ.ศ. 2129ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมาปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์] โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก