อีสเตอร์
อีสเตอร์คือเทศกาลหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิ
ซึ่งในประเทศที่นับถือคริสตศาสนา อีสเตอร์คือการเฉลิมฉลองวันหยุดทางศาสนาซึ่งเป็นวันที่พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระเจ้าได้ทรงฟื้นพระชนม์ขึ้นจากความตาย แต่ นอกจากการเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์นี้แล้วยังมีการฉลองในลักษณะประเพณีต่างๆ
และจากตำนานต่างๆซึ่งมาจากที่มาทางศาสนาที่แตกต่างกัน และไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาคริสต์
นักวิชาการทางด้านศาสนาได้ยอมรับต้นตอที่มาของคำว่าอีสเตอร์ซึ่งศึกษาโดยนักวิชาการทางด้านศาสนาชาวอังกฤษอังกฤษในศตวรรษที่8 ที่ชื่อว่าเซนต์ เบเด(St.Bede) ซึ่งเชื่อว่า ชื่อ"Easter" นั้นมาจากภาษาสแกนดิเนเวียนว่า"OSTRA" และในภาษาทิวโทนิค(ภาษาพื้นเมืองสแกนดิเนวีย)ว่า"Ostern" หรือ "Eastre" ซึ่งเป็นชื่อของเทพธิดาแห่งเทพปกรณัมผู้ที่นำฤดูใบไม้ผลิและการเจริญพันธุ์และยังเป็นผู้ที่ถูกสักการะและเฉลิมฉลองในวันที่เรียกว่าVernal Equinox(วันในฤดูใบไม้ผลิที่มีกลางวันและกลางคืนเท่าๆกันพอดี)
ซึ่งในประเทศที่นับถือคริสตศาสนา อีสเตอร์คือการเฉลิมฉลองวันหยุดทางศาสนาซึ่งเป็นวันที่พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระเจ้าได้ทรงฟื้นพระชนม์ขึ้นจากความตาย แต่ นอกจากการเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์นี้แล้วยังมีการฉลองในลักษณะประเพณีต่างๆ
และจากตำนานต่างๆซึ่งมาจากที่มาทางศาสนาที่แตกต่างกัน และไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาคริสต์
นักวิชาการทางด้านศาสนาได้ยอมรับต้นตอที่มาของคำว่าอีสเตอร์ซึ่งศึกษาโดยนักวิชาการทางด้านศาสนาชาวอังกฤษอังกฤษในศตวรรษที่8 ที่ชื่อว่าเซนต์ เบเด(St.Bede) ซึ่งเชื่อว่า ชื่อ"Easter" นั้นมาจากภาษาสแกนดิเนเวียนว่า"OSTRA" และในภาษาทิวโทนิค(ภาษาพื้นเมืองสแกนดิเนวีย)ว่า"Ostern" หรือ "Eastre" ซึ่งเป็นชื่อของเทพธิดาแห่งเทพปกรณัมผู้ที่นำฤดูใบไม้ผลิและการเจริญพันธุ์และยังเป็นผู้ที่ถูกสักการะและเฉลิมฉลองในวันที่เรียกว่าVernal Equinox(วันในฤดูใบไม้ผลิที่มีกลางวันและกลางคืนเท่าๆกันพอดี)
และประเพณีที่เกี่ยวข้องกับ การฉลองเทศกาลแห่งการมีชีวิตอยู่ โดยใช้กระต่ายอีสเตอร์เป็นสัญลักษณ์และการเจริญพันธุ์ซึ่งใช้ไข่อีสเตอร์เป็นสัญญลักษณ์ซึ่งไข่เหล่านั้นถูกทาสีอย่างสดใสและสวยงามซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหมายของแสงอาทิตย์ที่สดใสในฤดูใบไม้ผลิและถูกใช้ในการแข่งขันโยนไข่อีสเตอร์(เป็นประเพณีอย่างนึงในวันอีสเตอร์)และไข่อีสเตอร์ยังใช้มอบให้เป็นของขวัญแก่กันด้วย
การเฉลิมฉลองของชาวคริสต์ในเทศกาลอีสเตอร์ นั้นเกิดจากการนำเอาหลายประพณีมารวมกันซึ่งโดยรวมแล้วมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างเทศกาลอีสเตอร์
และเทศกาลPassover หรือเทศกาลปัสกาของชาวยิวนั่นเอง หรืออีกชื่อนึงซึ่งชาวยุโรปชอบเรียกกันคือเทศกาลPasch ซึ่งใช้เรียกวันอีสเตอร์ในแถบยุโรปนั่นเอง
เทศกาลปัสกานั้นคือเทศกาลเฉลิมฉลอง ที่สำคัญมากในชาวยิวซึ่งเป็นการฉลองต่อเนื่องเป็นเวลา 8 วันเพื่อระลึกถึงการเดินทางมายังดินแดนแห่งพันธะสัญญา(คานาอัน)และการเป็นอิสระของชนชาติอิสราเอลจากการตกเป็นทาสในอียิปต์
ซึ่งคริสเตียนรุ่นหลังๆที่มีเชื้อสายยิวได้นำเอาประเพณีฮิบรู (ยิว)รวมถึงเทศกาลอีสเตอร์ในฐานะของเทศกาลปัสกายุคใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงพระเมสไซอาห์(พระเยซู)ซึ่งได้มีผู้เผยพระวจนะได้ทำนายไว้ล่วงหน้า (หาอ่านเพิ่มเติมได้ในเศคาริยาห์ 9:9)
เทศกาลอีสเตอร์ได้ถูกรักษาไว้โดยเคร่งครัดเริ่มโดยคริสตจักรในประเทศทางตะวันตกโดยนับเอาวันอาทิตย์แรกหลังจากวันพระจันทร์เต็มดวงซึ่งเกิดขึ้นหลังวัน Vernal Equinox (21มีนาคม) ดังนั้นวันอีสเตอร์จึงเป็นเทศกาลที่ไม่มีวันที่ที่แน่นอน แต่จะเคลื่อนไปมาทุกปีอยู่ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม ถึง 25 เมษายน
คริสตจักรในประเทศทางตะวันตกซึ่งอยู่ใกล้กับที่เกิดของศาสนาคริสต์และยังต้องดำรงประเพณีดั้งเดิมอย่างเข้มแข็ง ได้รักษาวันอีสเตอร์ไว้ในช่วงเวลาเดียวกันกับเทศกาลปัสกา
วันอีสเตอร์ยังเป็นวันสิ้นสุดของเทศกาลมหาพรต(Lenten Season)ซึ่งครอบคลุมเวลา 46วัน ซี่งเริ่มในวันที่เรียกว่า วันพุธรับเถ้า(Ash Wednesday) และจบลงในวันอีสเตอร์ แต่เฉพาะเทศกาลมหาพรตเองนั้นมีกำหนดเวลา 40 วัน เพราะจะไม่นับวันอาทิตย์ทั้ง 6 วันรวมอยู่ในเทศกาลมหาพรตด้วย(เทศกาลมหาพรตเป็นเทศกาลของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิค)
การเฉลิมฉลองของชาวคริสต์ในเทศกาลอีสเตอร์ นั้นเกิดจากการนำเอาหลายประพณีมารวมกันซึ่งโดยรวมแล้วมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างเทศกาลอีสเตอร์
และเทศกาลPassover หรือเทศกาลปัสกาของชาวยิวนั่นเอง หรืออีกชื่อนึงซึ่งชาวยุโรปชอบเรียกกันคือเทศกาลPasch ซึ่งใช้เรียกวันอีสเตอร์ในแถบยุโรปนั่นเอง
เทศกาลปัสกานั้นคือเทศกาลเฉลิมฉลอง ที่สำคัญมากในชาวยิวซึ่งเป็นการฉลองต่อเนื่องเป็นเวลา 8 วันเพื่อระลึกถึงการเดินทางมายังดินแดนแห่งพันธะสัญญา(คานาอัน)และการเป็นอิสระของชนชาติอิสราเอลจากการตกเป็นทาสในอียิปต์
ซึ่งคริสเตียนรุ่นหลังๆที่มีเชื้อสายยิวได้นำเอาประเพณีฮิบรู (ยิว)รวมถึงเทศกาลอีสเตอร์ในฐานะของเทศกาลปัสกายุคใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงพระเมสไซอาห์(พระเยซู)ซึ่งได้มีผู้เผยพระวจนะได้ทำนายไว้ล่วงหน้า (หาอ่านเพิ่มเติมได้ในเศคาริยาห์ 9:9)
เทศกาลอีสเตอร์ได้ถูกรักษาไว้โดยเคร่งครัดเริ่มโดยคริสตจักรในประเทศทางตะวันตกโดยนับเอาวันอาทิตย์แรกหลังจากวันพระจันทร์เต็มดวงซึ่งเกิดขึ้นหลังวัน Vernal Equinox (21มีนาคม) ดังนั้นวันอีสเตอร์จึงเป็นเทศกาลที่ไม่มีวันที่ที่แน่นอน แต่จะเคลื่อนไปมาทุกปีอยู่ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม ถึง 25 เมษายน
คริสตจักรในประเทศทางตะวันตกซึ่งอยู่ใกล้กับที่เกิดของศาสนาคริสต์และยังต้องดำรงประเพณีดั้งเดิมอย่างเข้มแข็ง ได้รักษาวันอีสเตอร์ไว้ในช่วงเวลาเดียวกันกับเทศกาลปัสกา
วันอีสเตอร์ยังเป็นวันสิ้นสุดของเทศกาลมหาพรต(Lenten Season)ซึ่งครอบคลุมเวลา 46วัน ซี่งเริ่มในวันที่เรียกว่า วันพุธรับเถ้า(Ash Wednesday) และจบลงในวันอีสเตอร์ แต่เฉพาะเทศกาลมหาพรตเองนั้นมีกำหนดเวลา 40 วัน เพราะจะไม่นับวันอาทิตย์ทั้ง 6 วันรวมอยู่ในเทศกาลมหาพรตด้วย(เทศกาลมหาพรตเป็นเทศกาลของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิค)
สัปดาห์ศักสิทธิ์(Holy Week) คือสัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรต ซึ่งเริ่มต้นในวันปาล์มซันเดย์ซึ่งเป็นวันที่พระเยซูทรงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเลมอย่างผู้พิชิต (อ่านเพิ่มเติมได้ในมัทธิว 21:1 ถึง 11)และฝูงชนโห่ร้องต้อนรับพระองค์และได้เอาใบปาล์มโบกต้อนรับและเอาเสื้อผ้าปูลงตามทางเพื่อให้พระองค์ทรงดำเนินผ่าน เพราะพระลักษณะที่พระองค์เสด็จมานั้นตรงกับพระวจนะของพระเจ้าที่มีผู้เผยพระวจนะทำนายไว้ล่วงหน้า (เศคาริยาห์ 9:9)
และในวันพฤหัสศักสิทธิ์เป็นที่ระลึกถึงวันที่พระองค์ทรงรับประทานอาหารร่วมกับสาวกของพระองค์เป็นมื้อสุดท้าย(The Last Supper)
ซึ่งเกิดขึ้นในตอนเย็นก่อนวันที่พระองค์จะถูกตรึงบนไม้กางเขน และในวันศุกร์ของสัปดาห์ศักสิทธิ์นี้ถูกเรียกว่าวันศุกร์ประเสริฐ(Good Friday)ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงถูกตรีงและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน
สัปดาห์ศักสิทธิ์และเทศกาลมหาพรตนั้นจะสิ้นสุดพร้อมกันใน วันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันอีสเตอร์ ซึ่งเป็นวันที่พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระเจ้าทรงฟื้นคืนพระชนม์ขี้นมาจากความตายนั่นเอง
และในวันพฤหัสศักสิทธิ์เป็นที่ระลึกถึงวันที่พระองค์ทรงรับประทานอาหารร่วมกับสาวกของพระองค์เป็นมื้อสุดท้าย(The Last Supper)
ซึ่งเกิดขึ้นในตอนเย็นก่อนวันที่พระองค์จะถูกตรึงบนไม้กางเขน และในวันศุกร์ของสัปดาห์ศักสิทธิ์นี้ถูกเรียกว่าวันศุกร์ประเสริฐ(Good Friday)ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงถูกตรีงและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน
สัปดาห์ศักสิทธิ์และเทศกาลมหาพรตนั้นจะสิ้นสุดพร้อมกันใน วันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันอีสเตอร์ ซึ่งเป็นวันที่พระเยซูคริสต์พระบุตรของพระเจ้าทรงฟื้นคืนพระชนม์ขี้นมาจากความตายนั่นเอง