วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันชาติฝรั่งเศส
วันชาติฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้งได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกจากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์ ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติขึ้นเรียกว่า "The Feast of the Federation" เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่ "Champs-de-Mars" ในกรุงปารีส แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย "the Third Republic*"นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันชาติฝรั่งเศส"และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปีเดียวกันนั้น ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Tabebuia aurea
Tabebuia aurea est une espèce d'arbre appartenant à la famille des Bignoniaceae, originaire d'Amérique du Sud (Suriname, Brésil, est de la Bolivie, Pérou, Paraguay et nord de l'Argentine).
Il s'agit d'un arbre à feuilles caduques qui atteint 8 mètres de haut.
Les feuilles, palmées et composées de 5 à 7 folioles, chacune faisant 6 à 18 cm de long, sont vertes avec des reflets argentés sur les deux faces.
Les fleurs jaunes, de 6,5 cm de diamètre, forment un panicule pendentif. Le fruit est une capsule de 10 cm de longueur.
C'est une plante d'ornement très appréciée dans les régions tropicales et subtropicales pour ses fleurs spectaculaires produites à la fin de la saison sèche.
เหลืองปรีดียาธร
ลักษณะทางพฤกศาสตร์เหลืองปรีดียาธรเป็นไม้ยืนต้น ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือที่มี 5 ใบย่อย เรียงตัวแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปรี ขอบใบเรียบ มีช่อดอกแบบช่อกระจุก สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้าง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันปลาย แยกเป็นแฉก กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง สีเหลือง ปลายกลีบแยกเป็นรูปปากเปิด ส่วนที่อยู่ด้านบนมี 2 กลีบ เกสรเพศผู้มี 4 อัน เป็นแบบ 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก รังไข่เหนือวงกลีบ ผลแห้งแตก เป็นฝัก สีเทามีเส้นสีดำตามแนวยาว ออกดอกเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม
Jonquille
Jonquille est en français à la fois un nom commun véhiculaire et un nom vernaculaire qui désigne de façon ambiguë plusieurs plantes, généralement herbacées. En langage des fleurs, la signification de la jonquille est la langueur d'amour, le désir.
Dans le genre Narcissus
La jonquille véritable, et la seule qui rappelle sa dénomination espagnole de "petit jonc", est Narcissus jonquilla. Des variétés à parfum sont cultivées à Grasse.
Néanmoins depuis la Belle Époque, la langue française dénomme Jonquille une autre espèce commune surtout dans les Vosges, en Lorraine et en Franche-Comté.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)